จดทะเบียนคนเกิด

จดทะเบียนคนเกิด

วันที่นำเข้าข้อมูล 20 ก.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565

| 1,854 view

สถานเอกอัครราชทูตฯ สามารถจดทะเบียนคนเกิดและออกสูติบัตรให้กับเด็กสัญชาติไทยที่เกิดในรัสเซียหรือประเทศในเขตอาณา โดยมีหลักเกณฑ์การได้สัญชาติไทยของเด็กที่เกิดในต่างประเทศ ดังนี้

 

 

สัญชาติบิดา

สัญชาติมารดา

สัญชาติเด็ก

บิดามารดาจดทะเบียนสมรส

ไทย

ไทย

ไทย

อื่น ๆ

ไทย

ไทย

ไทย

อื่น ๆ

ไทย

บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส

ไทย

ไทย

ไทย

อื่น ๆ

ไทย

ไทย

ไทย

อื่น ๆ

ไม่ได้สัญชาติไทย

 

เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง

1.   แบบคำร้องขอจดทะเบียนคนเกิด 

2.   ใบรับรองการเกิดซึ่งออกโดยโรงพยาบาลท้องถิ่น พร้อมสำเนา

3.   ใบแจ้งเกิดซึ่งออกโดยหน่วยงานราชการท้องถิ่น พร้อมสำเนา

4.   สำเนาทะเบียนบ้านที่จะแจ้งชื่อเด็กเข้าทะเบียนบ้านที่ประเทศไทย           

5.   บัตรประชาชนของบิดาและมารดา พร้อมสำเนา

6.   หนังสือเดินทางของบิดาและมารดา พร้อมสำเนา

7.   ทะเบียนสมรส พร้อมสำเนา

 

      หมายเหตุ    1.  บัตรประชาชนและหนังสือเดินทางต้องยังคงมีอายุใช้งานและยังไม่ถูกยกเลิก

                        2.  เอกสารทุกฉบับที่เป็นภาษารัสเซีย (หรือภาษาอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ภาษาไทยและอังกฤษ)
                             จะต้องแปลและรับรองโดย Notary Public 

                        3. ระยะเวลาดำเนินการอย่างน้อย 1 สัปดาห์

 

การแจ้งชื่อบุตรเข้าทะเบียนบ้านไทย

ท่านจะต้องไปดำเนินการแจ้งอำเภอหรือเขต เพื่อเพิ่มชื่อบุตรเข้าทะเบียนบ้านไทย ซึ่งโดยทั่วไปต้องไปติดต่อด้วยตนเองเนื่องจากต้องแสดงหนังสือเดินทางไทยของบุตรที่ได้รับการประทับตราเข้าเมืองจากเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองไทยไปแสดง อย่างไรก็ตาม ควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากอำเภอหรือเขตโดยตรง

การเพิ่มชื่อบุตรเข้าทะเบียนบ้านไทย

  • นำหนังสือเดินทางไทยของบุตรที่ได้รับการประทับตราเข้าประเทศไทยจากเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของไทย และใบเกิดบุตร (สูติบัตรไทย) ที่ออกโดยสถานเอกอัครราชทูตฯไปแจ้งชื่อบุตรเข้าทะเบียนบ้านที่อำเภอที่ท่านมีชื่ออยู่ใน ทะเบียนบ้าน [หากไม่ได้ทำหนังสือเดินทางไทยให้บุตรที่สถานเอกอัครราชทูตฯ และเดินทางเข้าประเทศไทยโดยใช้หนังสือเดินทางของประเทศอื่น หรือใบสำคัญประจำตัว (ใบซี.ไอ.) ก็สามารถเพิ่มชื่อเด็กเข้าทะเบียนบ้านไทยได้ แต่ต้องไปติดต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของไทยเพื่อทำการพิสูจน์สัญชาติเด็กก่อน]
  • เอกสารประจำตัวบิดา/มารดาที่มีสัญชาติไทย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส
  • คัดสำเนาทะเบียนบ้านไทยของบุตร เพื่อนำมาใช้ในต่างประเทศ

กรณีประสบปัญหาในการแจ้งชื่อบุตรเข้าทะเบียนบ้านไทย โดยเฉพาะเขตต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ กรุณาติดต่อที่ กองปกครองและทะเบียน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร โทร. 02-621 0721

 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการตั้งชื่อเด็ก

1.   ตามกฎหมายไทย เด็กจะต้องใช้นามสกุลตามบิดาหรือมารดาเท่านั้น 

2.   ชื่อ-นามสกุลเด็กในสูติบัตรไทย ประกอบด้วย

      (1) ชื่อตัว หมายถึง ชื่อประจำตัวบุคคล (First name)

      (2) ชื่อรอง หมายถึง ชื่อประกอบถัดจากชื่อตัว (Middle name)

      (3) นามสกุล หมายถึง ชื่อประจำวงศ์ตระกูล (Surname หรือ Family name)

3.   ชื่อรองไม่ใช่องค์ประกอบบังคับในการแจ้งเกิด จะมีหรือไม่มีก็ได้

4.   กรณีบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิใช้ชื่อสกุลของมารดาหรือบิดาเป็นชื่อรองได้    

5.   ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม

6.   ต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย และต้องไม่มีเจตนาทุจริต

7.   ชื่อเด็กต้องเป็นชื่อเดียวกันทั้งในใบรับรองการเกิดที่ออกโดยโรงพยาบาลและใบแจ้งเกิดซึ่งออกโดยหน่วยงานราชการท้องถิ่น

8.   ชื่อเด็กในใบแจ้งเกิดท้องถิ่นซึ่งออกโดยหน่วยงานราชการท้องถิ่น ควรตรงกับชื่อเด็กที่แจ้งเกิดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ ซึ่งต้องเป็นไปตามกฎหมายไทย ดังนั้น ผู้ร้องจึงควรตั้งชื่อเด็กให้สอดคล้องกับกฎหมายไทยตั้งแต่ต้น

9.   ชื่อเด็กทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษจะต้องสะกดให้ออกเสียงเหมือนกันหรือใกล้เคียงที่สุดตามหลักภาษานั้น ๆ